วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

หน่วยที่ 2 ฐานะทางการเงิน

เนื้อหาสาระ หน่วยที่  2 เรื่อง  สมการบัญชีและงบดุล

1.  ความหมายของสินทรัพย์ และการจำแนกสินทรัพย์
2.  ความหมายของหนี้สินและการจำแนกหนี้สิน
3.  ความหมายของส่วนของเจ้าของ (ทุน)
4.  สมการบัญชี
5.  ความหมายและการจัดทำงบดุล




                สินทรัพย์  (Assets) หมายถึงทรัพยากรที่กิจการมีความเป็นเจ้าของ และพึงจะได้รับประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรเหล่านั้นในอนาคต โดยทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเป็นผลจากเหตุการณ์หรือรายการค้าของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีต การแสดงสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินจะจัดเรียงลำดับดังนี้
              1. สินทรัพย์หมุนเวียน  (Current Assets) หมายถึง  สินทรัพย์ที่มีสภาพเป็นเงินสดหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานภายในระยะไม่เกิน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนิน
งานโดยปกติ ซึ่งหมายถึง เริ่มตั้งแต่การจัดหาสินทรัพย์ต่าง ๆ มาใช้ในการให้บริการการผลิต หรือการขาย จนเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้
                  ตัวอย่างรายการสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้การค้า เงินลงทุนชั่วคราว สินค้าคงเหลือ  วัสดุสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า และรายได้ค้างรับ
           
2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non - Current Assets)  หมายถึง สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานเกินกว่า
1 ปี หรือเป็นสินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว เป็นได้ทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและ ไม่มีตัวตน
                   ตัวอย่างรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักร รถยนต์
เครื่องตกแต่ง  เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น
 

เจอตัวอย่างกันเลยค่ะ

                ตัวอย่างที่  1         สินทรัพย์ของบุคคลธรรมดา  คือ  นางสาวราณี           ศรีสุข   มีดังนี้
                                                                เงินสด                                  
170,000.-      บาท
                                                                ลูกหนี้                                    
20,000.-      บาท
                                                                โทรทัศน์                                10,000.-      บาท
                                                                บ้าน                                      900,000.-      บาท
                                                                ที่ดิน                                1,500,000.-      บาท
                                                                                รวม                 
2,600,000 .-     บาท

                ตัวอย่างที่ 
2         ตัวอย่างสินทรัพย์ของกิจการค้า เช่น  ร้านวีณาซาลอน มีดังนี้
เงินสด                                   60,000.-         บาท
ลูกหนี้                                   
10,000.-         บาท
วัสดุเสริมสวย                      
30,000.-         บาท
อุปกรณ์เสริมสวย
            50,000.-         บาท
เครื่องตกแต่ง                      
10,000.-         บาท
อาคาร                         
1,500,000.-         บาท
ที่ดิน                            
2,800,000.-         บาท
                รวม            
4,460,000.-         บาท











                                หนี้สิน (Liabilities)  หมายถึง  ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่มีผลทำให้กิจการต้องรับ
ผิดชอบตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้กิจการสูญเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว โดยภาระผูกพันนี้เป็นผลมาจากเหตุการณ์หรือรายการค้าของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีต การรายงานหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินจะเรียงตามลำดับ ดังนี้
                1.  หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)  หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการมีกำหนดเวลาจ่ายชำระหรือคืนเงินภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และรายได้รับล่วงหน้า  เงินกู้ระยะสั้น  เป็นต้น
2.  หนี้สินไม่หมุนเวียน  (Non – Current  Liabilities)  หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการมีกำหนดเวลาจะต้องชำระคืนเงินเกินกว่า 1 ปี  เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้  เงินกู้จำนอง   เป็นต้น
                                                                                               
         
              ต่อไปนี้เป็นรายการหนี้สินของร้านวีณาซาลอน


                เจ้าหนี้                                              25,000.-         บาท
                เจ้าหนี้จำนอง                        
         80,000.-                       บาท
             เงินกู้ –  ธนคารกสิกรไทยฯ         400,000.-         บาท      

                            รวม                              
505,000.-         บาท






                                ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity)  หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว กรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกิจการมีในสินทรัพย์ เรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ
(สินทรัพย์
หนี้สิน)  ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ




                                                       


 



                                สมการบัญชี  หมายถึง  สมการที่แสดงความสัมพันธ์ของ สินทรัพย์ หนี้สิน  และ
ส่วนของเจ้าของ (ทุน)  จะแสดงความเท่ากันของหลักการบัญชีที่ว่า





 ต่อไปนี้เป็นรายการสินทรัพย์ หนี้สินของ นางสาวราณี  ศรีสุข
                 เงินสด                                     
170,000.-      บาท
                                                                ลูกหนี้                                           
20,000.-      บาท
                                                                โทรทัศน์                                         10,000.-      บาท
                                                                บ้าน                                              900,000.-      บาท
                                                                ที่ดิน                                        1,500,000.-      บาท
                                                                เจ้าหนี้                                                    
25,000.-       บาท
                                                        เจ้าหนี้จำนอง                               
        80,000.-       บาท
                จากข้อมูลข้างต้น สามารถคำนวณหาส่วนของเจ้าของ (ทุน) ของนางสาวราณี ศรีสุข โดยอาศัยสมการบัญชีได้ดังนี้
Œ         คำนวณหาสินทรัพย์
                                        เงินสด                                     
170,000.-      บาท
                                        ลูกหนี้                                           
20,000.-      บาท
                                        โทรทัศน์                                         10,000.-      บาท
                                        บ้าน                                              900,000.-      บาท
                                        ที่ดิน                                        1,500,000.-      บาท
                                           รวมสินทรัพย์               
2,600,000.-      บาท
v          คำนวณหาสินทรัพย์
                                              เจ้าหนี้                                                    25,000.-       บาท
                                          เจ้าหนี้จำนอง                  
         80,000.-      บาท
                                                 รวมหนี้สิน                      
105,000.-        บาท
w        คำนวณหาส่วนของเจ้าของ (ทุน)  ได้โดยอาศัยสมการบัญชี ได้ดังนี้

                                        สินทรัพย์               =     หนี้สิน                   +   ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                              
2,600,000.-              =      105,000.-              +   ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                       ส่วนของเจ้าของ (ทุน)    
=   2,600,000.-                105,000.-
                         ส่วนของเจ้าของ (ทุน)     =   2,495,000.-          บาท
       










 
                                 งบดุล  หมายถึง  รายงานที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใด วันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์  หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้อาศัยความสัมพันธ์ของ
สมการบัญชี


                งบดุลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
                1.  งบดุลแบบรายงาน  (Account Form)  งบดุลแบบบัญชี ใช้แบบฟอร์มคล้ายกับบัญชีแยกประเภทซึ่งลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2   ด้าน ด้านทางซ้ายเรียกว่า ด้านเดบิต (Debit) จะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วน ด้านขวามือเรียกว่า ด้านเครดิต (Credit) จะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
(ทุน)
                ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี มีดังนี้
                ขั้นที่ 
1  เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด โดย
                                                   บรรทัดที่  
1                   เขียนชื่อกิจการ
                           บรรทัดที่ 2                        เขียนคำว่า  “งบดุล”
                                บรรทัดที่
3            เขียน วัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
                ขั้นที่ 
2  ทางด้านซ้ายมือให้เขียนรายละเอียดของสินทรัพย์และแสดงรายการต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
                ขั้นที่ 
3  ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการมีอยู่
                ขั้นที่ 
4  รวมยอดทั้ง 2 ด้าน จะต้องเท่ากันและอยู่ในบรรทัดเดียวกัน





ร้านวีณาซาลอน
งบดุล
วันที 
31 ธันวาคม  2551
สินทรัพย์
หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน)
เงินสด
60,000
  -
เจ้าหนี้
25,000
  -
ลูกหนี้
10,000
  -
เจ้าหนี้จำนอง
80,000
  -
วัสดุเสริมสวย
30,000
  -
เงินกู้ ธนาคารกสิกรไทยฯ
400,000
  -
อุปกรณ์เสริมสวย
50,000
  -
ทุน นางสาววีณา
3,955,000
  -
เครื่องตกแต่ง
10,000
  -



อาคาร
1,500,000
  -



ที่ดิน
2,800,000
 -




4,460,000
  -

4,460,000
  -

                2.  งบดุลแบบรายงาน  (Report Form) 
                ขั้นตอนในการจัดทำ
3งบดุลแบบรายงาน มีดังนี้
                ขั้นที่ 
1  เขียนหัวงบดุล  3 บรรทัด
                                บรรทัดที่ 
1   เขียนชื่อกิจการ
                                บรรทัดที่ 
2   เขียนคำว่า  “งบดุล”
                                บรรทัดที่ 
เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
                ขั้นที่ 
2  ตอนบนเขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมี
                ขั้นที่ 
3  เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ ให้แสดงรายการที่เป็นหนี้ก่อน และตามด้วยรายการที่เป็นส่วนของเจ้าของแล้วรวมยอดทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์


ร้านวีณาซาลอน
งบดุล
วันที 
31 ธันวาคม  2551
สินทรัพย์

          เงินสด                                                                                                                      60,000.-                                บาท
         ลูกหนี้                                                                                                                       
10,000.-                                บาท
         วัสดุเสริมสวย                                                                                                           30,000.-                                บาท
         อุปกรณ์เสริมสวย                                                                                                
50,000.-                               บาท
         เครื่องตกแต่ง                                                                                                            10,000.-                                บาท
         อาคาร                                                                                                            
1,500,000.-         บาท
         ที่ดิน                                                                                                                
2,800,000.-                             บาท
                                                 รวมสินทรัพย์                                            
4,460,000.-                    บาท
                                                               หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

        หนี้สิน
                     เจ้าหนี้                                                       
25,000.-               
                     เจ้าหนี้จำนอง                                       80,000.-
                     เงินกู้ ธนาคารกสิกรไทยฯ               400,000.-                                           505,000.-              บาท
       ส่วนของเจ้าของ
                     ทุน
นางสาววีณา                                                                            3,955,000.-             บาท
                                                                                                                     
4,460,000.-             บาท
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น